กลยุทธ์ สพป.แพร่ เขต 2 (Phrae 2 Strategy)

กลยุทธ์(Strategy)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

*************************

กลยุทธ์ที่1เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาส

ในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพ

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับก่อนประถมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและ

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีทักษะที่เหมาะสมและ

มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมสถานศึกษาในสังกัดจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

และเอกลักษณ์ความเป็นไทย

กลยุทธ์ที่ 6 สร้างเครือข่ายการบริหารจัดการศึกษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

จุดเน้น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

***********************

ส่วนที่ 1 จุดเน้นด้านผู้เรียน

1.1 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากลดังต่อไปนี้

1.1.1 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์จิตใจและ

สติปัญญาที่สมดุลเหมาะสมกับวัยและเรียนรู้อย่างมีความสุข

1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

จากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3

1.1.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 มีความสามารถด้านภาษาอ่านออกเขียนได้

ด้านคำนวณและด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม

1.1.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3ได้รับการส่งเสริม

ให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพด้วยการแนะแนวทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่างๆ (ผู้ปกครองศิษย์เก่า

สถานประกอบการใน/นอกพื้นที่) และได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต

1.1.5 นักเรียนมีทักษะชีวิตทักษะการคิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์และทักษะการสื่อสาร

อย่างสร้างสรรค์อย่างน้อย 2 ภาษาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เหมาะสมตามช่วงวัย

1.2 นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมรักความเป็นไทยห่างไกลยาเสพติดมีคุณลักษณะและทักษะ

ทางสังคมที่เหมาะสม

1.2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษาใฝ่เรียนรู้ใฝ่ดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

1.2.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีทักษะการแก้ปัญหาและอยู่อย่างพอเพียง

1.2.3 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความมุ่งมั่นในการศึกษาและการทางาน

และสามารถปรับตัวเข้ากับพหุวัฒนธรรมบนพื้นฐานวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย

1.3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

1.3.1 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

ตามหลักวิชา

1.3.2 เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้

ของหลักสูตรและอัตลักษณ์แห่งตน

1.3.3 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศ

ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์คณิตศาสตร์ภาษากีฬาดนตรีและศิลปะ

1.3.4 นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวสถานประกอบการ

บุคคลองค์กรวิชาชีพองค์กรเอกชนองค์กรชุมชนและองค์กรสังคมอื่นและการศึกษาทางเลือก

ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน

1.3.5 เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษได้รับการคุ้มครอง

และช่วยเหลือเยียวยาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

1.3.6 เด็กวัยเรียนในถิ่นทุรกันดารได้รับการศึกษาและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ส่วนที่ 2 จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา

2.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการสื่อสารมีสมรรถนะในการสอน

อย่างมีประสิทธิภาพ

2.1.1ครูได้รับการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนการสอนคิดแบบต่างๆและ

การวัดประเมินผลให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล

2.1.2ครูสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศและ

การสื่อสารอย่างเหมาะสม

2.1.3ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตรโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผู้บริหาร

สถานศึกษาและครูทั้งในโรงเรียนระหว่างโรงเรียนหรือภาคส่วนอื่นๆตามความพร้อมของโรงเรียน

2.1.4ครูสร้างเครือข่ายการเรียนรู้การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและทุกภาคส่วน

ให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2.1.5 ครูจัดการเรียนการสอนให้สอดรับกับการเป็นประชาคมอาเซียน

2.1.6 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจิตวิญญาณของความเป็นครูการเป็นครูมืออาชีพ

และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ

2.2 ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการบริหารงานทุกด้านให้มีประสิทธิภาพและ

เกิดประสิทธิผล

2.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญกำลังใจในการทำงาน

2.4 องค์กรคณะบุคคลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องวางแผนและสรรหาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและสังคม

ส่วนที่3จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ

3.1สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ

การมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน

3.1.1โรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศได้รับการแก้ไขช่วยเหลือนิเทศติดตามและประเมินผล

โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและเป็นผู้ประสานงานหลักให้โรงเรียน

ทำแผนพัฒนาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครองชุมชนและองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

3.1.2สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพโดยใช้มาตรฐาน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3.1.3สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาระบบช่วยเหลือกำกับติดตามตรวจสอบ

การบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

3.1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชิดชูเกียรติโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนสูงขึ้นอัตราการออกกลางคันลดลงมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

3.2หน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2ทุกระดับ

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3.2.1หน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

ทุกระดับและสถานศึกษาส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3.2.2หน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2

ทุกระดับและสถานศึกษาส่งเสริมการระดมทรัพยากรในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา